เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 72. อุปาทานอุปาทานิยทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย (ย่อ 2 วาระ
นอกนี้เหมือนกับอุปาทานทุกะ) (3)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานเป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานโดยอารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ (อธิปติปัจจัย ในหนหลัง มี 3 วาระ
เหมือนกับอุปาทานทุกะ)

อธิปติปัจจัย
[100] สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานเป็น
ปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลิน
ฌานนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น พระเสขะ
พิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาโวทานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและ
ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ
จึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ขันธ์ที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทานแต่ไม่
เป็นอุปาทานเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย
(อารัมมณาธิปติปัจจัยและสหชาตาธิปติปัจจัยแม้ทั้ง 2 อย่างที่เหลือ เหมือนกับ
อุปาทานทุกะ) (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :342 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 73. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ 1. ปฏิจจวาร
(อธิปติปัจจัยที่เป็นฆฏนา มี 3 วาระ เหมือนกับอุปาทานทุกะ ปัจจัยทั้งหมด
ก็เหมือนกับอุปาทานทุกะ ในสภาวธรรมที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่มีโลกุตตระ
ปัจจนียะและการนับทั้ง 2 อย่างนอกจากนี้เหมือนกับอุปาทานทุกะ)
อุปาทานอุปาทานิยทุกะ จบ

73. อุปาทานอุปาทานสัมปยุตตทุกะ
1. ปฏิจจวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[101] สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานอาศัยสภาวธรรม
ที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทาน
อาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น (พึงทำเป็นจักกนัย) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็น
อุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ สัมปยุตตขันธ์
อาศัยอุปาทานเกิดขึ้น (2)
สภาวธรรมที่เป็นอุปาทานสัมปยุตด้วยอุปาทานและที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่
ไม่เป็นอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่เป็นอุปาทานและสัมปยุตด้วยอุปาทานเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ กามุปาทานและสัมปยุตตขันธ์อาศัยทิฏฐุปาทานเกิดขึ้น
(พึงทำเป็นจักกนัย) (3)
... อาศัยสภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยอุปาทานแต่ไม่เป็นอุปาทาน ฯลฯ (ย่อ
การระบุความที่มีข้อแตกต่างกันเหมือนกับอุปาทานทุกะ มี 9 วาระ ไม่มีรูป พึง
ขยายวาระทั้งหมดให้พิสดารอย่างนี้ มีเฉพาะอรูปเท่านั้น)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :343 }